Project Description
ปรัชญา
มีความรู้ ทักษะ และสร้างนวัตกรรมด้านคณิตศาสตร์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีจิตสำนึกความเป็นครู และมีคุณธรรมนำความรู้สู่สังคม
ความสำคัญ
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต กลุ่มสาขาวิชาคณิตศาสตร์ พ.ศ. 2562 เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิต เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม นอกจากผลิตบัณฑิตตรงตามความต้องการของสังคมแล้ว หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต กลุ่มสาขาวิชาคณิตศาสตร์ พ.ศ. 2562 ยังเน้นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ใน 6 ด้านคือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านวิธีการจัดการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้การเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นไปอย่างมีคุณภาพจำเป็นต้องได้รับการสอนจากครูที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับสถานการณ์ของครูคณิตศาสตร์ในปัจจุบัน พบว่าครูที่สอนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวนมากมีความต้องการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรที่ผลิตครูคณิตศาสตร์ที่มีความรู้ รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี และสามารถจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะดังนี้
ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เนื้อหาสาระคณิตศาสตร์และโครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ มีการใช้เหตุผลที่แน่นอน โดยใช้ตรรกศาสตร์ สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์
ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เชื่อมโยงความรู้ และกระบวนการเรียนรู้โดยให้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาความคิด
ผลิตบัณฑิตให้สามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์การผลิตและใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาพัฒนาผู้เรียนและการประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ผลิตบัณฑิตให้สามารถ ทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรมทางคณิตศาสตร์
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจากสำเร็จการศึกษา
1. ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาสังกัดองค์กรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ทั้งภาครัฐหรือเอกชนเพื่อสอน/ปฏิบัติงานในสถานศึกษาตั้งแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอาชีวศึกษา
2. นักวิชาการทางด้านการศึกษา
3. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
4. นักวิจัยทางคณิตศาสตร์
5. นักวิชาการศึกษา
6. นักสถิติ
7. นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
8. นัก Data Mining
จำนวนหน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต)
โครงสร้างหลักสูตร มีสัดส่วนหน่วยกิตแต่ละหมวดวิชา ดังนี้
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต) | 30 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ | 6 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ | 6 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาภาษา และการสื่อสาร | 9 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ | 9 หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเฉพาะด้าน (ไม่น้อยกว่า 102 หน่วยกิต) | 102 หน่วยกิต | |
กลุ่มวิชาชีพครู (ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต) | 36 หน่วยกิต | |
วิชาชีพครูบังคับ (ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต)
การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา (ไม่น้อยกว่า 14 หน่วยกิต) |
22 หน่วยกิต
14 หน่วยกิต |
|
กลุ่มวิชาเอก (ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต) | 60 หน่วยกิต | |
วิชาเอกบังคับ (ไม่น้อยกว่า 40 หน่วยกิต) | 40 หน่วยกิต | |
วิชาการสอนวิชาเอก (ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต) | 10 หน่วยกิต | |
วิชาเอกบังคับส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิชาเฉพาะ | 10 หน่วยกิต | |
หมวดวิชาเลือกเสรี(ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต) | 6 หน่วยกิต |
แผนการศึกษา
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
วิชาศึกษาทั่วไป | 3 | |
GEN-302 | ภาษาอังกฤษพื้นฐาน | 3(2-2-5) |
วิชาชีพครูบังคับ | 8 | |
BED-101 | ความเป็นครู | 3(2-2-5) |
BED-102 | จิตวิทยาสำหรับครู | 3(2-2-5) |
BED-107 | ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู | 2(1-2-3) |
วิชาเอกบังคับ | 9 | |
BEM-201 | หลักการคณิตศาสตร์ | 3(2-2-5) |
BEM-202 | เรขาคณิตเบื้องต้น | 3(2-2-5) |
BEM-205 | แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 1 | 3(2-2-5) |
รวม | 20 |
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
วิชาศึกษาทั่วไป | 3 | |
GEN-303 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสถานประกอบการ | 3(2-2-5) |
วิชาชีพครูบังคับ | 6 | |
BED-103 | การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ | 3(2-2-5) |
BED-104 | นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารสำหรับครู | 3(2-2-5) |
วิชาเอกบังคับ | 11 | |
BEM-208 | แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 2 | 3(2-2-5) |
BEM-207 | ตรรกศาสตร์เชิงคณิตศาสตร์ | 3(2-2-5) |
BEM-203 | ความน่าจะเป็นและสถิติเบื้องต้น | 2(1-2-3) |
BEM-204 | พีชคณิตระดับวิทยาลัย | 3(2-2-5) |
รวม | 20 |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
วิชาศึกษาทั่วไป | 6 | |
GEN-101 | การพัฒนาทักษะทางด้านชีวิต | 3(2-2-5) |
GEN-201 | ความรับผิดชอบพลเมืองยุคใหม่ | 3(2-2-5) |
วิชาชีพครูบังคับ | 3 | |
BED-105 | การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ | 3(3-0-6) |
วิชาเอกบังคับ | 6 | |
BEM-210 | พีชคณิตนามธรรม | 3(2-2-5) |
BEM-206 | ทฤษฎีจำนวน | 3(2-2-5) |
วิชาการสอนวิชาเอก | 2 | |
BEM-303 | ภาษาอังกฤษสำหรับครูคณิตศาสตร์ | 2(1-2-3) |
วิชาเอกบังคับส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เฉพาะทาง | 4 | |
BEM-401 | นวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ | 2(1-2-3) |
BEM-404 | โปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้านคณิตศาสตร์และสถิติศึกษา | 2(2-2-5) |
รวม | 21 |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
วิชาศึกษาทั่วไป | 6 | |
GEN-102 | ประวัติศาสตร์ ปรัชญาและสังคม | 3(2-2-5) |
GEN-202 | โลกและอาเซียน | 3(2-2-5) |
วิชาชีพครูบังคับ | 3 | |
BED-106 | การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ | 3(2-2-5) |
วิชาเอกบังคับ | 6 | |
BEM-209 | การสำรวจเรขาคณิต | 3(2-2-5) |
BEM-212 | พีชคณิตเชิงเส้น | 3(2-2-5) |
วิชาการสอนวิชาเอก | 3 | |
BEM-301 | พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา | 3(2-2-5) |
วิชาเลือกเสรี | 3 | |
BED-5×× | ………………………………………… | 3(2-2-5) |
รวม | 21 |
ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
วิชาศึกษาทั่วไป | 6 | |
GEN-301 | ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร | 3(2-2-5) |
GEN-401 | คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน | 3(2-2-5) |
วิชาชีพครูบังคับ | 3 | |
BED-108 | การประกันคุณภาพการศึกษา | 2(1-2-3) |
BED-109 | การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 1 | 1(0-2-2) |
วิชาเอกบังคับ | 5 | |
BEM-211 | คณิตศาสตร์ดิสครีต | 3(2-2-5) |
BEM-214 | สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ | 2(1-2-3) |
วิชาการสอนวิชาเอก | 3 | |
BEM-302 | พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา | 3(2-2-5) |
วิชาเอกบังคับส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เฉพาะทาง | 4 | |
BEM-403 | โครงงานคณิตศาสตร์ | 2(2-2-5) |
BEM-405 | การวิจัยคณิตศาสตร์ศึกษา | 2(2-2-5) |
รวม | 21 |
ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
วิชาศึกษาทั่วไป | 6 | |
GEN-402 | วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต | 3(2-2-5) |
GEN-403 | การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม | 3(2-2-5) |
วิชาชีพครูบังคับ | 1 | |
BED-110 | การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 2 | 1(0-2-2) |
วิชาเอกบังคับ | 3 | |
BEM-213 | การวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ | 3(2-2-5) |
วิชาการสอนวิชาเอก | 2 | |
BEM-304 | ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ | 2(1-2-3) |
วิชาเอกบังคับส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เฉพาะทาง | 2 | |
BEM-402 | การสัมมนาคณิตศาสตร์ศึกษา | 2(2-2-5) |
วิชาเลือกเสรี | 3 | |
BED-5×× | ………………………………………… | 3(2-2-5) |
รวม | 17 |
ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
วิชาชีพครูบังคับ | 6 | |
BED-111 | การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 | 6(0-18-9) |
รวม | 6 |
ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
วิชาชีพครูบังคับ | 6 | |
BED-112 | การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 | 6(0-18-9) |
รวม | 6 |
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1. ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเท่ามีค่านิยมเจตคติที่ดีและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพ
2. สอบผ่านข้อสอบวัดคุณลักษณะความเป็นครู
3. ผ่านเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ/ หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการคัดเลือก
4. มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่เกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือคุรุสภา
คณะ/สาขา | ค่าใช้จ่าย | |||||||
1-2563 | 2-2563 | 3-2563 | 1-2564 | 2-2564 | 1-2565 | 2-2565 | ||
คณะศึกษาศาสตร์ | ค่าหน่วยกิต (1,200) | 25,200 | 25,200 | 10,800 | 25,200 | 25,200 | 25,200 | 25,200 |
(พละ) | ค่าบำรุงตลอดหลักสูตร | 2,500 | – | – | – | – | – | – |
ค่าบำรุงการศึกษารายปี | 1,200 | – | – | 1,200 | – | 1,200 | – | |
ค่าบำรุงการศึกษารายภาค | 6,200 | 6,200 | 6,200 | 6,200 | 6,200 | 6,200 | 6,200 | |
ค่าปฏิบัติการภาษา | – | – | – | – | – | – | – | |
ค่าปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ | – | – | – | – | – | – | – | |
รวม | 35,100 | 31,400 | 17,000 | 32,600 | 31,400 | 32,600 | 31,400 |