รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (M.Pol.Sc.)

ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ : Master of Political Science

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

ชื่อย่อภาษาไทย : ร.ม.

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Master of Political Science

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : M.Pol.Sc.

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิตเป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางรัฐศาสตร์ สร้างองค์ความรู้ใหม่ วิเคราะห์ วิพากษ์บนหลักวิชาการ และบูรณาการองค์ความรู้ที่นำไปสู่การบริหารจัดการในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รู้เท่าทันและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแสวงหาความรู้และถ่ายทอดความรู้สู่สังคม ปฏิบัติยึดมั่นในหลักคุณธรรม จรรยาบรรณ และวิชาชีพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและประชาธิปไตยแบบเปิด

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้คุณภาพ การเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้

1 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้ในศาสตร์ที่ศึกษา สามารถเชื่อมโยงหลักคิดทางรัฐศาสตร์ ในการจัดการปัญหาที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคมและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ ชุมชน สังคม และประเทศได้

2 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะแห่งอนาคตในศตวรรษที่ 21 ที่พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และท้องถิ่นในยุคดิจิทัล ควบคู่กับพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง

3 เพื่อผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองความต้องการ มีส่วนร่วม มีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ ซื่อสัตย์ สุจริต มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีคุณธรรม จริยธรรม และยึดมั่นจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

4 เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้นำองค์กร ชุมชน และสังคม ที่มีความคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ ค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม

PLO1
บัณฑิตสามารถให้คำนิยามศาสตร์ที่ศึกษา เปรียบเทียบหลักคิดทางรัฐศาสตร์ ในการจัดการปัญหาที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคมและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ ชุมชน สังคม และประเทศได้
PLO2

บัณฑิตสามารถเลือกใช้ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ ทดสอบ ประเมินผล และสื่อสารกับสังคมพร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำดิจิทัลให้กับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และท้องถิ่น ควบคู่กับพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง

PLO3
บัณฑิตสามารถวิเคราะห์ และตัดสินใจได้อย่างเป็นระบบบนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม และยึดมั่นจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
PLO4
บัณฑิตสามารถเข้าถึงข้อมูลและเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อทำความเข้าใจทิศทางการเปลี่ยนแปลงของชุมชน สังคมประเทศและสังคมโลกในยุคแห่งโลกดิจิทัล โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม

1 จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

2 โครงสร้างหลักสูตร

รายละเอียด

จำนวนหน่วยกิต

แบบวิชาการ (1)

แบบวิชาการ (2)

แบบวิชาชีพ

1) หมวดวิชาปรับพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)

N/C

N/C

N/C

2) หมวดวิชาบังคับ

-

21

21

3) หมวดวิชาเลือก

-

3

9

5) วิทยานิพนธ์

36

12

-

6) การค้นคว้าอิสระ

-

-

6

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

36

36

36

.หมวดวิชาปรับพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)

รหัสวิชา

รายวิชา


MPS-001

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

(N/C)

MPS-002

ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์

(N/C)

MPS-003

หลักรัฐศาสตร์

(N/C)

.หมวดวิชาบังคับ (21 หน่วยกิต)

รหัสวิชา

รายวิชา

MPS-101

การเมืองการปกครองไทย (Thai Government and Politics)

3(3–0-6)

MPS-102

การวิเคราะห์การเมืองและแนวทางการศึกษารัฐศาสตร์ (Political Analysis and Scope in Political Science)

3(3–0-6)

MPS-103

สัมมนาประเด็นการศึกษาเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองไทยร่วมสมัย(Seminars on Contemporary issues in Thai Economics Social and Politics)

3(3–0-6)

MPS-104

การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางการเมืองการปกครอง (Human Resources Management and Development in Politics and Government)

3(3–0-6)

MPS-105

การจัดการระบบสารสนเทศสำหรับนักรัฐศาสตร์ (Information System Management for Political Scientists)

3(3–0-6)

MPS-106

ขอบข่ายและระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์ (Scope and Research Methodology for Political Science)

3(3–0-6)

MPS-107

คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง การปกครองและการบริหาร (Morality and Ethics in Politics & Government and Administration)

3(3–0-6)

.หมวดวิชาเลือก

แผน 1 วิชาการ เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต

รหัสวิชา

รายวิชา


MPS-201

การวางแผนและการบริหารโครงการ (Planning and Project Management)

3(3–0-6)

MPS-202

การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ (Public Policy Analysis)

3(3–0-6)

MPS-203

การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ (Comparative Politics)

3(3–0-6)

MPS-204

กฎหมายปกครอง (Administrative Law)

3(3–0-6)

MPS-205

รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง (Constitution and Political Institution)

3(3–0-6)

MPS-206

การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางการเมือง (Political Change and Development)

3(3–0-6)

MPS-207

สัมมนานโยบายต่างประเทศของไทย (Seminar on Thai Foreign Policy)

3(3–0-6)

MPS-208

สัมมนาประเด็นปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการปกครองไทย (Seminar on Thai Economics, Social, and Politics)

3(3–0-6)

MPS-209

ยุทธศาสตร์การจัดการพัฒนาท้องถิ่นเชิงบูรณาการ (Integrated Strategic Management for Local Development)

3(3–0-6)

MPS-210

การสร้างวิสัยทัศน์ทางการบริหาร (Managerial Vision Formulation)

3(3–0-6)

MPS-211

การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management)

3(3–0-6)

MPS-212

การบริหารความเครียดสำหรับนักปกครอง (Recreation and Stress Management)

3(3–0-6)

MPS-213

สัมมนาการบริหารจัดการการปกครองท้องถิ่น (Seminar on Local Government Administration and Management)

3(3–0-6)

.การค้นคว้าอิสระ

แบบวิชาชีพ

รหัสวิชา

รายวิชา


MPS-901

การค้นคว้าอิสระ (Independent Study)

6(0-18-0)

.วิทยานิพนธ์

แบบวิชาการ (1) และแบบวิชาการ (2) ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

รหัสวิชา

รายวิชา


MPS-901

วิทยานิพนธ์ (Thesis)

12(0-36-0)

1 ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหาร เจ้าพนักงานปกครอง

2 พนักงานส่วนท้องถิ่น และข้าราชการส่วนท้องถิ่น

3 ข้าราชการพลเรือนของกระทรวงต่างๆ

4 นักการเมืองระดับท้องถิ่น และนักการเมืองระดับชาติ

5 ครู อาจารย์

6 นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

7 นักวิชาการ

8 เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)

9 ธนาคารและสถานประกอบการ



เวลาทำการ

วันจันทร์ - วันศุกร์: 08:30น. - 17:00น.
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ : 08:30น. - 17:00น.

ที่อยู่ติดต่อ

749, 1 ถ. ชยางกูร ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี
อุบลราชธานี 34000

โทรศัพท์

045 283 772