หลักสูตรศึกษาศาสตร์ สาขาพลศึกษา

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา (4 ปี)

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education Program in Physical Education

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : ศึกษาศาสตรบัณฑิต (พลศึกษา)

ชื่อย่อภาษาไทย : ศษ.บ. (พลศึกษา)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education (Physical Education)

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Ed. (Physical Education)

ผลิตครูพลศึกษา ให้มีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ คิดค้นสร้างสรรค์นวัตกรรม ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ข้อมูลสารสนเทศ มีสุขภาวะที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แข็งแรง สมบูรณ์ ยึดมั่นคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู โดยมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตรดังนี้

1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี เนื้อหาสาระวิชาพลศึกษาและนันทนาการ มีพัฒนาการทางกายและทางจิต

2. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ คุณธรรม ค่านิยม การปฏิบัติและพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพองค์รวม การออกกำลังกายและปฏิบัติกิจกรรมในเวลาว่างเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพ

3. ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ตลอดจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ข้อมูลสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียนทุกช่วงวัย

4. ผลิตบัณฑิตให้มีความตระหนักรู้ มีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ มีทักษะปฏิบัติด้านสุขภาพจนเป็นกิจนิสัย มีสุขภาวะที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แข็งแรง สมบูรณ์

จำนวนหน่วยกิต จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต)

โครงสร้างหลักสูตร มีสัดส่วนหน่วยกิตแต่ละหมวดวิชา ดังนี้

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต) 30 หน่วยกิต

1.1 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต

1.2 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต

1.3 กลุ่มวิชาภาษา และการสื่อสาร 9 หน่วยกิต

1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 9 หน่วยกิต

2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน (ไม่น้อยกว่า 96 หน่วยกิต) 96 หน่วยกิต

2.1 กลุ่มวิชาชีพครู (ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต) 36 หน่วยกิต

2.1.1 วิชาชีพครูบังคับ (ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต) 22 หน่วยกิต

2.1.2 การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา (ไม่น้อยกว่า 14 หน่วยกิต) 14 หน่วยกิต

2.2 กลุ่มวิชาเอก (ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต) 60 หน่วยกิต

2.2.1 วิชาเอกบังคับ (ไม่น้อยกว่า 40 หน่วยกิต) 40 หน่วยกิต

2.2.2 วิชาการสอนวิชาเอก (ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต) 10 หน่วยกิต

2.2.3 วิชาเอกบังคับส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิชาเฉพาะ 10 หน่วยกิต (ไม่น้อยกว่า 10 หน่วยกิต)

3. หมวดวิชาเลือกเสรี (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต

3.1 รายวิชา

(1) ความหมายของอักษรย่อรหัสวิชา

GEN หมายถึง รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ตัวเลขมีความหมายดังนี้

เลขหลักร้อย คือ กลุ่มวิชา

เลขหลักสิบและหลักหน่วย คือ ลำดับวิชา

(2) ความหมายของอักษรย่อรหัสวิชา

BED หมายถึง กลุ่มวิชาชีพครู

ตัวเลขมีความหมายดังนี้

เลขหลักร้อย คือ กลุ่มวิชา

เลขหลักสิบและหลักหน่วย คือ ลำดับวิชา

(3) ความหมายของตัวเลขหน่วยกิต

ตัวเลขหน้าวงเล็บ หมายถึงจำนวนหน่วยกิต

ตัวเลขตัวแรกในวงเล็บ หมายถึงจำนวนชั่วโมงบรรยาย

ตัวเลขตัวที่สองในวงเล็บ หมายถึงจำนวนชั่วโมงปฏิบัติ

ตัวเลขตัวที่สามในวงเล็บ หมายถึงจำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

(4) เลขรหัสวิชาที่ใช้ในหลักสูตรเฉพาะด้าน (วิชาเอก) ประกอบด้วยเลข 5 หลัก มีความหมาย ดังนี้

ตัวอักษร 3 ตัวแรก (BEH) หมายถึง กลุ่มสาขาวิชาพลศึกษา

เลขรหัสตัวที่ 1 หมายถึง ลักษณะเนื้อหาของวิชาในแต่ละกลุ่มวิชา คือ

2 หมายถึง กลุ่มวิชาเอกบังคับ

3 หมายถึง กลุ่มวิชาการสอนวิชาเอก

4 หมายถึง กลุ่มวิชาเอกส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิชาเฉพาะ

5 หมายถึง หมวดวิชาเลือกเสรี

1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

30 หน่วยกิต

กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

6 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

น(ท-ป-ศ)

GEN-101

การพัฒนาทักษะทางด้านชีวิต

Life Skills Development

3(2-2-5)

GEN-102

ประวัติศาสตร์ ปรัชญาและสังคม

History, Philosophy and Society

3(2-2-5)

กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6 หน่วยกิต

รหัส

ชื่อวิชา

น(ท-ป-ศ)

GEN-201

ความรับผิดชอบพลเมืองยุคใหม่

Modern Civic Responsibilities

3(2-2-5)

GEN-202

โลกและอาเซียน

ASEAN and the World

3(2-2-5)

กลุ่มวิชาภาษา และการสื่อสาร

9 หน่วยกิต

รหัส

ชื่อวิชา

น(ท-ป-ศ)

GEN-301

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

Thai for Communication

3(2-2-5)

GEN-302

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

Foundation English

3(2-2-5)

GEN-303

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสถานประกอบการ

English for Communication in the Work place

3(2-2-5)

กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

9 หน่วยกิต

รหัส

ชื่อวิชา

น(ท-ป-ศ)

GEN-401

คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน

Mathematics and Statistics in Daily Life

3(2-2-5)

GEN-402

วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต

Science for Quality of Life

3(2-2-5)

GEN-403

การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

Technology management and innovation

3(2-2-5)

2.หมวดวิชาเฉพาะ

96 หน่วยกิต

2.1 กลุ่มวิชาชีพครู

36 หน่วยกิต

2.1.1 วิชาชีพครูบังคับ

22 หน่วยกิต

รหัส

ชื่อวิชา

น(ท-ป-ศ)

BED-101

ความเป็นครู

Teaching Profession

3(2-2-5)

BED-102

จิตวิทยาสำหรับครู

Psychology for teachers

3(2-2-5)

BED-103

การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้

Curriculum development and learning management

3(2-2-5)

BED-104

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารสำหรับครู

Innovation and information technology for teachers

3(2-2-5)

BED-105

การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

Learning Outcomes Measurement and Evaluation

3(3-0-6)

BED-106

การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

Research for Learning Development

3(2-2-5)

BED-107

ภาษาเพื่อการสื่อสารสำหรับครู

Language for Communication for Teachers

3(2-2-5)

BED-108

การประกันคุณภาพการศึกษา

Educational Quality Assurance

2(1-2-3)

2.1.2 การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

14 หน่วยกิต/ชั่วโมงปฏิบัติ

รหัส

ชื่อวิชา

น(ท-ป-ศ)

BED-109

การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 1

Professional Practicum I

1(0-2-2)

BED-110

การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 2

Professional Practicum II

1(0-2-2)

BED-111

การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1

Teaching Internship I

6(0-18-9)

BED-112

การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2

Teaching Internship II

6(0-18-9)

2.2 กลุ่มวิชาเอก

60 หน่วยกิต

2.2.1 วิชาเอกบังคับ

40 หน่วยกิต

รหัส

ชื่อวิชา

น(ท-ป-ศ)

BEH-201

ประวัติหลักการปรัชญาทางพลศึกษา

History and Philosophy of Physical Education

2(1-2-3)

BEH-202

การจัดการแข่งขันกีฬา

Sport Competition Management

3(2-2-5)

BEH-203

เกมและเกมนำ

Games and Lead-Up Games

2(1-2-3)

BEH-204

สรีรวิทยาการออกกำลังกาย

Exercise Physiology

3(2-2-5)

BEH-205

หลักและการฝึกกีฬา

Principles and Sport Coaching

2(1-2-3)

BEH-206

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

Exercise for Health

3(2-2-5)

BEH-207

การดูแลเบื้องต้นและการปฐมพยาบาล

Primary Care and First Aid

2(1-2-3)

BEH-208

การจัดการและการบริหารพลศึกษา

Organization and Administration of Physical

3(2-2-5)

BEH-209

ผู้นำนันทนาการและการอยู่ค่ายพักแรม

Recreation Leadership and Camping

3(2-2-5)

BEH-210

ชีวกลศาสตร์

Biomechanics

2(1-2-3)

BEH-211

กิจกรรมเข้าจังหวะ

Rhythmic Activity

2(1-2-3)

BEH-212

ฟุตบอล

Football

2(1-2-3)

BEH-213

วอลเลย์บอล

Volleyball

2(1-2-3)

BEH-214

กรีฑา

Track and Field

2(1-2-3)

BEH-215

บาสเกตบอล

Basketball

2(1-2-3)

BEH-216

เซปักตะกร้อ

Sepak Takraw

2(1-2-3)

BEH-217

ฟุตซอล

Futsal

2(1-2-3)

2.2.2 วิชาการสอนวิชาเอก

10 หน่วยกิต

รหัส

ชื่อวิชา

น(ท-ป-ศ)

BEH-301

การประเมินผลทางพลศึกษา

Physical Education Assessment

3(2-2-5)

BEH-302

ภาษาอังกฤษสำหรับการออกกำลังกายและกีฬา

English for Exercise and Sports

3(2-2-5)

BEH-303

การวิจัยทางพลศึกษาและกีฬา

Research in Physical Education and Sports

2(1-2-3)

BEH-304

คุณธรรมจริยธรรมสำหรับครูพลศึกษา

Ethics and Codes for Physical Education Teachers

2(1-2-3)

2.2.3 วิชาเอกบังคับส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เฉพาะทาง

10 หน่วยกิต

รหัส

ชื่อวิชา

น(ท-ป-ศ)

BEH-401

การเรียนรู้กลไกการเคลื่อนไหวในกีฬา

Motor Learning in Sports

2(1-2-3)

BEH-402

วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว

Kinesiology

2(1-2-3)

BEH-403

การทดสอบและการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย

Testing and Enhancing Physical Fitness

2(1-2-3)

BEH-404

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาสำหรับครูพลศึกษา 1

Anatomy and Physiology for Physical Education Teachers I

2(1-2-3)

BEH-405

กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาสำหรับครูพลศึกษา 2

Anatomy and Physiology for Physical Education Teachers II

2(1-2-3)

3.หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

กำหนดให้เลือกเรียนรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย หรือเลือกเรียนรายวิชาในสถาบัน ในอุดมศึกษาอื่น โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำคณะและได้รับอนุมัติจากคณบดีที่หลักสูตรนั้นสังกัด

ทั้งนี้รายวิชาดังกล่าวต้องเป็นรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในระยะเวลาไม่เกิน 4 ปี นับถึงวันที่ขอโอน

1. ครูในสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชน องค์กร มูลนิธิ

2. บุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐบาลและเอกชน องค์กร มูลนิธิ

3. นักวิชาการทางพลศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐ เอกชน องค์กร มูลนิธิ เช่น เจ้าหน้าที่ศูนย์ฟิตเนส เจ้าหน้าที่กีฬาประจำอำเภอ เจ้าหน้าที่สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาประจำจังหวัด ผู้ฝึกสอนกีฬาประจำอำเภอ และจังหวัด

4. ผู้นำทางการกีฬา และทางการออกกำลังกาย

5. นักส่งเสริมสุขภาพ

6. นักวิชาการด้านพลศึกษา

7. ธุรกิจส่วนตัว ด้านพลศึกษา



เวลาทำการ

วันจันทร์ - วันศุกร์: 08:30น. - 17:00น.
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ : 08:30น. - 17:00น.

ที่อยู่ติดต่อ

749, 1 ถ. ชยางกูร ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองอุบลราชธานี
อุบลราชธานี 34000

โทรศัพท์

045 283 772